วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554

หลักและทฤษฎีการบริหารการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก


บทความ
หลักและทฤษฎีการบริหารการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก
นายศุภโชค   คงรอด รหัส 5324478430
สาขาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยรามคำแหง – ภูเก็ต รุ่น 4
ในการบริหารสถานศึกษาไม่ว่าจะเป็นสถานศึกษาที่มีขนาดใหญ่ หรือเป็นสถานศึกษาขนาดเล็กล้วนมีจุดประสงค์เดียวกันคือ บริหารจัดการในงานฝ่ายต่างๆ ทั้ง วิชาการ งบประมาณ การเงิน บุคคล และบริหารงานทั่วไป และ ผู้บริหารควรมีหลักและทฤษฎี แนวคิดในการบริหาร เพื่อให้การจัดการบริหารสถานศึกษามีความเหมาะสมและเกิดประโยชน์สูดสุดแก่ผู้เรียน สถานศึกษา ชุมชน สังคมและประเทศชาติ
ปัจจุบันสำนักงานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีสถานศึกษาในสังกัด 32,879 แห่ง สถานศึกษาดังกล่าวนี้เป็นสถานศึกษาที่มีนักเรียนต่ำกว่า 120 คนลงมา 10,877 แห่ง และในจำนวนนี้เป็นสถานศึกษาที่มีขนาดเล็กมาก กล่าวคือมีนักเรียนต่ำกว่า 60 คนลงมา ถึง 1,766 แห่ง
ธนสาร  บัลลังก์ปัทมา (2550) ได้กล่าวไว้ว่า การผลการประเมินภายนอกของ สำนักประเมินมาตรฐานการศึกษา (สมศ.) ในรอบแรก ผลการประเมินจะพบว่าโรงเรียนขนาดเล็กในชนบทเกือบครึ่งหนึ่งที่ยังไม่ได้มาตรฐานเท่าที่ควร
ธนสาร  บัลลังก์ปัทมา (2552, หน้า 56) ได้กล่าวไว้ว่า การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กนับว่าเป็นประเด็นที่น่าสนใจในปัจจุบัน ทั้งนี้เพราะจากการประเมินภายนอกของ สมศ. จะพบว่าโรงเรียนขนาดเล็กจำนวนมาก ยังไม่ผ่านการประเมินมาตรฐาน ทั้งนี้เพราะโรงเรียนขนาดเล็กได้รับงบประมาณน้อย ขาดแคลนอัตรากำลัง และบางครั้งกลายเป็นโรงเรียนฝึกการบริหารของผู้บริหารมือใหม่ป้ายแดง
หลักและทฤษฎีที่จะนำมาบริหารจัดการกับสถานศึกษาใดๆ นั้น ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยความต้องการพื้นฐาน ตามที่มาสโลว์ แบ่งความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ออกเป็น 5 ระดับด้วยกัน ได้แก่
1. ความต้องการทางกายภาพ (Physiological Needs) หมายถึงความต้องการพื้นฐานของร่างกายซึ่งจำเป็นในการดำรงชีวิต ได้แก่ความต้องการอาหาร น้ำ อากาศ เสื้อผ้า
2. ความต้องการความปลอดภัย (Safety Needs) หมายถึง ความต้องการมั่นคงปลอดภัยทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ
3. ความต้องการทางสังคม (Social Needs) หมายถึง ความต้องการที่จะเป็นที่รักของผู้อื่น และต้องการมีสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่น
4. ความต้องการยกย่องชื่อเสียง (Esteem Needs) หมาย ถึง ความปรารถนาที่จะมองตนเองว่ามีคุณค่าสูง เป็นที่น่าเคารพยกย่องจากทั้งตนเองและผู้อื่น ต้องการที่จะให้ผู้อื่นเห็นตนมีความสามารถ มีคุณค่า มีเกียรติ มีตำแหน่งฐานะ บุคคลที่มีความต้องการประเภทนี้จะเป็นผู้ที่มีความมั่นใจในตนเอง
5. ความต้องการที่จะรู้จักตนเองตามสภาพที่แท้จริงและความสำเร็จของชีวิต (Self–ActualizationNeeds) หมายถึง ความต้องการที่จะรู้จักและเข้าใจตนเองตามสภาพที่แท้จริงเพื่อพัฒนาชีวิตของตนเองให้สมบูรณ์(Self-fulfillment) รู้จักค่านิยม
ดังนั้นในการในการบริหารจัดการจะต้องยึดหลักของ Henry Fayol : บิดาทฤษฎีการบริหารจัดการสมัยใหม่เชื่อว่าการบริหารนั้นเป็นเรื่องของทักษะ และเขาสนใจที่จะศึกษาองค์การโดยรวมและมุ่งเน้นที่กิจกรรมการจัดการ (Managerial activities) ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมห้าอย่างคือ
1.      การวางแผน(Planning)
2.      การจัดองค์การ(Organizing)
3.      การบังคับบัญชา หรือการสั่งการ (Commanding)
4.      การประสานงาน (Coordinating)
5.      การควบคุม (Controlling)
มาช่วยในการตอบสนองความต้องการพื้นฐานทั้ง 5 ระดับของมาสโลว์
ในส่วนของรูปแบบในการจัดการบริหารสามารถจัดได้หลายรูปแบบตามปัจจัยพื้นฐานตามแต่สถานศึกษานั้นๆ พึงมี
จาก http://www.kroobannok.com/440  รูปแบบการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กที่ได้ผล สรุปมาเป็น 7 รูปแบบ ได้แก่
รูปแบบที่ 1 การจัดการเรียนรู้แบบรวมชั้นเรียน ประกอบด้วยการจัดการเรียนรู้แบบช่วงชั้นและการเรียนรู้แบบคละชั้น โดยวิธีการยุบชั้นเรียน ให้โรงเรียนที่มีครูไม่ครบชั้นสามารถจัดการเรียนการสอนได้โดยไม่ทิ้งห้อง เรียน ซึ่งโรงเรียนสามารถปรับใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้อง และเหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน โดยสามารถเรียนรู้รูปแบบนี้ได้ที่ โรงเรียนบ้านย่านยาว อ.คีรีรัฐนิคม สพท.สุราษฎร์ธานี เขต 2, โรงเรียนบ้านโคกสว่าง อ.ตาคลี สพท.นครสวรรค์ เขต 3 และ โรงเรียนบ้านทุ่งหัวพรหม อ.เมือง สพท. นครปฐม เขต 1
รูปแบบที่ 2 การบูรณาการหลักสูตร เป็นการนำความรู้มารวบรวมประมวลไว้ในหน่วยเดียวกัน สำหรับโรงเรียนที่มีครูไม่ครบชั้นมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาหลักสูตรให้สอด คล้องกับสภาพปัญหาที่เป็นอยู่รวมทั้งการนำหลักสูตรไปใช้ให้บังเกิดผลตามที่ ต้องการ สำหรับการบูรณาการเนื้อหารายวิชา สามารถดำเนินการได้โดยศึกษาและวิเคราะห์หลักสูตร จากนั้นนำวัตถุประสงค์ตลอดจนเนื้อหาการเรียนรู้ในแต่ละกลุ่มวิชาที่สอดคล้อง กันมาเชื่อมโยง สู่การจัดทำหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณา แล้วนำมากำหนดกิจกรรม เพื่อให้สามารถจัดการเรียนรู้ ได้ครั้งเดียวพร้อมกันในแต่ละช่วงชั้น โดยสามารถเรียนรู้รูปแบบนี้ได้ที่ สพท.ประจวบคีรีขันธ์ เขต 2, โรงเรียนบ้านเกาะลานและโรงเรียนบ้านคลองไม้แดง สพท.ตาก เขต 1, โรงเรียนบ้านสายน้ำทิพย์ สพท.นครสวรรค์ เขต 3 และ โรงเรียนบ้านตะพุนทอง อ.เมือง สพท.ระยอง เขต 1
รูปแบบที่ 3 ความร่วมมือจากชุมชน เพื่อแก้ปัญหาที่สำคัญและเร่งด่วนของทุก สพท. ในเรื่องการขาดแคลนครู งบประมาณไม่เพียงพอ และขาดสื่อเทคโนโลยี โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ผู้ปกครอง กรรมการสถานศึกษา องค์กรท้องถิ่น เครือข่ายสถานศึกษา ตลอดจนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ซึ่งเป็นแรงสนับสนุนให้โรงเรียนขนาดเล็กได้รับการพัฒนาต่อยอดทั้งในด้านการ บริหารจัดการ งบประมาณ ตลอดจนทรัพยากรต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถเรียนรู้รูปแบบนี้ได้ที่ สพท.กาญจนบุรี เขต 1, โรงเรียนวัดสามทอง อ.เมือง สพท.สงขลา เขต 1,โรงเรียนบ้านลานคา อ.บ้านไร่ สพท.อุทัยธานี และโรงเรียนบ้านหนองหัวช้าง อ.ท่าหลวง สพท.ลพบุรี เขต 2
รูปแบบที่ 4 การใช้ ICT ในการพัฒนาคุณภาพ โดย สพท. หลายแห่งได้นำเทคโนโลยีมาใช้อย่างหลากหลาย เช่น รถคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่ (Mobile unit) เพื่อให้บริการนักเรียนในโรงเรียนขนาดเล็กที่อยู่ห่างไกล การส่งเสริมการเรียนการสอนด้วยการรับสัญญาณ การสอนทางไกลจากโรงเรียนไกลกังวลหัวหิน
เป็นต้น โดยสามารถเรียนรู้รูปแบบนี้ได้ที่  สพท.พิษณุโลก เขต 2, โรงเรียนวัดสายลำโพงกลาง อ.ท่าตะโก สพท.นครสวรรค์ เขต 3, โรงเรียนบ้านห้วยไคร้ อ.คลองหาด สพท.สระแก้ว เขต 1 และโรงเรียนบ้านหนองจานใต้ อ.ลำทะเมนชัย สพท.นครราชสีมา เขต 7 
รูปแบบที่ 5 รูปแบบโรงเรียนเครือข่าย เป็นการร่วมมือกันระหว่างโรงเรียนหลัก และโรงเรียนเครือข่ายในการวางแผนการจัดการศึกษา ตลอดจนผู้บริหารและครูได้รับ การพัฒนาจนสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถเรียนรู้รูปแบบนี้ได้ที่ สพท.เชียงใหม่ เขต 2, โรงเรียนวัดชัยสุวรรณ อ.เชียรใหญ่ สพท.นครศรีธรรมราช เขต 3, โรงเรียนวัดดอนหวาย อ.สว่างอารมณ์ สพท.อุทัยธานี และ โรงเรียนเก่าน้อยโนนรังวิทยาเสริม อ.กมลาไสย สพท.กาฬสินธุ์ เขต 1
รูปแบบที่ 6 ผสมผสานด้วยวิธีการหลากหลาย สพท. เป็นการผสมผสานรูปแบบ ที่ 1-5 ดังกล่าวข้างต้นมาดำเนินงาน นับว่าเป็นรูปแบบที่ทำให้โรงเรียนจำนวนมาก ประสบผลสำเร็จ โดยสามารถเรียนรู้รูปแบบนี้ได้ที่ สพท. นครปฐม เขต 1, โรงเรียน บ้านดอนน้ำครก อ.เมือง สพท.น่าน เขต 1,
โรงเรียนบ้านโคกถาวร อ.วานรนิวาส สพท. สกลนคร เขต 3 และ โรงเรียนบ้านงอมมด อ.ท่าปลา สพท.อุตรดิตถ์ เขต 2
รูปแบบที่ 7 การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ เป็นรูปแบบที่มีผู้บริหารใช้ความรู้ ความสามารถในการบริหารจัดการสถานศึกษา มีวิสัยทัศน์ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง มีความเป็นประชาธิปไตยยึดหลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม มีคุณธรรมจริยธรรม เป็นที่ยอมรับของทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษาตลอดจนมุ่งมั่นสร้างเครือข่าย การทำงาน โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยสามารถเรียนรู้รูปแบบนี้ได้ที่ โรงเรียนวัดสุทธาวาส อ.อินทร์บุรี สพท.สิงห์บุรี, โรงเรียนบ้านหมื่นเทพ อ.หันคา สพท.ชัยนาท, โรงเรียนบ้านสงยางดอนไม้คูณ อ.ม่วงสามสิบ สพท. อุบลราชธานี เขต 1 และโรงเรียนบ้านจรวย อ.ลำดวน สพท.สุรินทร์ เขต 1
สถาพร คุ้มไพรี ผอ.ร.ร.วัดกระดังงา ได้อธิบายวิธีการ / แนวทาง ในการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กในสภาวะวิกฤต ดังนี้
1. สร้างความพร้อม และความเข็มแข็ง
1.1  จัดสภาพแวดล้อมภายในภายนอกห้องเรียนสะอาดร่มรื่นสวยงาม ประโยชน์ใช้ สอยคุ้มค่า
1.2 จัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้มีประสิทธิภาพ
1.3  การประชาสัมพันธ์โรงเรียนสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนรักและศรัทธา โรงเรียนอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง
1.4  ระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาให้เพียงพอ และคุ้มค่า
2.  พัฒนาระบบวางแผน และการบริหารจัดการ
2.1  จัดทำข้อมูลสารสนเทศถูกต้อง เป็นปัจจุบัน
2.2  จัดทำเครื่องมือการบริหารจัด ที่สามารถปฏิบัติได้จริง
2.3  พัฒนาบุคลากรและสร้างความตระหนัก ทุ่มเท จริงจัง มุ่งมั่นในการปฏิบัติงาน
3.  พัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอน และการเรียนรู้
3.1  พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น
3.2  จัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียมแก้ปัญหาครูไม่ครบชั้นและไม่ ถนัดในบางสาระการเรียนรู้
3.3  ส่งเสริมการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียนและนอกโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง
4.  เสริมสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน 
4.1 สร้างศักยภาพการปฏิบัติงานของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
4.2  สร้างความเข้มแข็งในการมีส่วนร่วมของชุมชนให้มีความตระหนักถึงความจำเป็นในการมีส่วนร่วม
4.3  สร้างเครือข่ายของชุมชน/ผู้ปกครอง/ศิษย์เก่าในรูปคณะกรรมการ 
ธนสาร  บัลลังก์ปัทมา (2552, หน้า 56) ได้กล่าวไว้ว่า ปัจจัย ที่สำคัญที่ส่งผลต่อการบริหารในโรงเรียนขนาดเล็กประการหนึ่ง คือ โรงเรียนขนาดเล็กหลายแห่งมีครูไม่พอหรือไม่ครบชั้นเรียน ผู้บริหารไม่สอนหนังสือเพราะติดราชการประชุมที่เขตพื้นที่อยู่เนือง ๆ ในการบริหารจัดการจึงควรให้ผู้ใหญ่ในเขตพื้นที่เป็นฝ่ายมาหาครูที่โรงเรียน โดยผ่านศึกษานิเทศก์ควรไปช่วยสอนหรือนำสื่อการสอนไปสนับสนุน รวมถึงรองผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งแต่ละเขตพื้นที่มีรองผู้อำนวยการเขตหลายคน ควรมีการแบ่งกระจายไปช่วยพัฒนาการเรียนการสอนในโรงเรียนขนาดเล็ก และที่สำคัญคืองบประมาณ เพราะผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกลมีทักษะการบริหารที่ครบถ้วนตามหลัก วิชาการ แต่ไม่มีงบประมาณสนับสนุนการขับเคลื่อนการศึกษาคงไม่เกิดขึ้น เหมือนกับการปฏิรูปการศึกษาที่ก้าวย่างมาครบ 1 ทศวรรษในปีนี้ แต่งานวิจัยหลายชิ้นแสดงให้เห็นว่าล้มเหลว
ดังนั้นในการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กให้มีประสิทธิภาพนั้นใช่ว่าผู้บริหารคนเดียวจะสามารถนำหลักการและทฤษฎีมาใช้แล้วสามารถบริหารจัดการได้ทุกคน ขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อมภายนอกมาเกี่ยวข้องโดยตรง ทั้งทางรัฐบาล องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ชุมชน องค์กรเอกชน หลักการที่จะทำให้การบริหารจัดการลุล่วงไปด้วยดีที่สุด คือการได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายทุกภาคส่วน ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ และเอกชน ชุมชนมีส่วนร่วม ผู้บริหารมาวิสัยทัศน์ คิดดี ทำดี บริหารเก่ง ลูกน้องร่วมแรงร่วมใจ ภายใต้หลักเกณฑ์และกรอบปฏิบัติที่แน่นอนและเป็นระบบ ฉะนั้นไม่ว่าโรงเรียนขนาดใหญ่หรือเล็กก็สามารถบริหารจัดการได้ด้วยความราบรื่นและสำเร็จทุกอย่าง


เอกสารอ้างอิง
ธนสาร     บัลลังก์ปัทมา.(2552). ทักษะการบริหารสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก.The City Journal, 5(103) , 56.
http://gotoknow.org/blog/cityedu/249641 ค้นเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2553
http://gotoknow.org/blog/thecityedu/158748 ค้นเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2553
http://www.kroobannok.com/440  ค้นเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2553
http://www.moe.go.th/small_sch/information.htm  ค้นเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2553
http://www.sing-area.net/mangmoom ค้นเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2553

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ29 มกราคม 2565 เวลา 07:28

    Why you should make money from casino games | WorkOm
    The best way to งานออนไลน์ make money from casino choegocasino games online casino games are 바카라 very simple and there are some really amazing options,

    ตอบลบ